Tuesday, July 8, 2014 \\ 0 comment(s)
Muslim's Ramadan : การถือศีลอดของชาวมุสลิม
ศีลอดหรือศิยาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง การอดอาหารและเครื่องดื่มและการเสพกามตั้งแต่ยามรุ่งอรุณจนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน เป็นที่รู้กันดีในหมู่ชาวมุสลิมทั้งหลายว่า เมื่อเดือนรอมฎอนเวียนมาถึง พวกเขาจะต้องประพฤติตนตามหน้าที่ของชาวมุสลิมดังที่หลักศาสนาได้บัญญัติเอาไว้ แต่สำหรับหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยกันว่า เดือนรอมฎอนมีความสำคัญต่อชาวมุสลิมอย่างไร? เหตุใดชาวมุสลิมทำไมถึงต้องถือศีลอดในเดือนนี้?
รอมฎอน หรือ รอมะฎอน หรือ เราะมะฏอน คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะฮฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่ชาวมุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน โดยในปีนี้การถือศีลอดของพี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศจะตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม 2554
โดยเดือนรอมฎอน นับได้ว่าเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่เดือนหนึ่งของอิสลาม ซึ่งอัลกุรอานได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของเดือนรอมฎอนนี้ไว้ว่า เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนนี้ แต่สิ่งที่สำคญยิ่งไปกว่านั้นอยู่ที่เป้าหมายของการประทานต่างหาก ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการประทานอัลกุรอานนี้ ก็เพื่อให้ใช้คัมภีร์นี้เป็นเครื่องนำทาง และเป็นข้อจำแนกแยกแยะสิ่งถูกสิ่งผิดแก่มนุษยชาติ ให้มนุษย์มุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ และหากมนุษย์เดินตามหนทางเช่นนี้ ก็จะได้รับความผาสุกทั้งโลกนี้และปรโลก .
ดังนั้น เดือนรอมฎอน จึงถือเป็นเดือนที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และจูงใจให้ผู้ศรัทธาทำความดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดือนอื่น ๆ และการถือศีลอดนี่เองก็เป็นหนทางหนึ่ง ที่จะทำให้ชาวมุสลิมสามารถมุ่งไปสู่จุดสูงสุดของความเป็นมนุษย์ได้แท้จริง
ประเภทของการถือศีลอด
การถือศีลอดมีหลายประเภทเช่น
- ศีลอดภาคบังคับ ที่ชายหญิงมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะต้องปฏิบัติในเดือนรอมะฎอนทุกปี
- ศีลอดภาคสมัครใจ ที่ชายหญิงมุสลิมถือศีลอดในวันอื่น ๆ นอกเดือนรอมะฎอน
มุสลิมที่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฏอน
- บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ หรือที่เรียกว่า บรรลุศาสนภาวะ ด้วยเหตุนี้ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (เด็กต้องมีอายุ 15 ปีจันทรคติบริบูรณ์หรือมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่นฝันเปียกหรือมีประจำเดือน)
- มีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับคนที่วิกลจริต แม้ว่าอาการวิกลจริตจะเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งในเวลากลางวันก็ตาม
- ไม่เมาหรือหมดสติ
- ไม่เจ็บป่วย เพราะการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพกรณีที่ไม่สบาย
- ไม่มีประจำเดือนหรือมีเลือดหลังจากการคลอดบุตร
ขั้นตอนปฎิบัติการถือศีลอด
1. ต้องตั้งเจตนา (เนียต) ในการถือศีลอดทุกๆคืนระหว่างดวงอาทิตย์ตกจนถึงแสงอรุณขึ้น โดยอ่านและเนียต ดังนี้
1. ต้องตั้งเจตนา (เนียต) ในการถือศีลอดทุกๆคืนระหว่างดวงอาทิตย์ตกจนถึงแสงอรุณขึ้น โดยอ่านและเนียต ดังนี้
“นาวัยตูเซามาฆ่อดิน อันอาด้าอี ฟัรดีชะฮฺรีรอมาฎอน ฮาซี่ฮิซซานาตี ลิ้ลลาฮีตาอ้าลา”
เนียตว่า “ข้าพเจ้าถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นฟัรฎูเดือนรอมาฎอนในปีนี้ เพื่ออัลเลาะฮฺตะอาลา”
2. ต้องอดกลั้นต่อบรรดาการกระทำต่างๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่จะทำให้เสียศีลอด
2. ต้องอดกลั้นต่อบรรดาการกระทำต่างๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่จะทำให้เสียศีลอด
ข้อห้ามขณะถือศีลอด
1. ห้ามรับประทานหรือดื่ม รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วยโดยเจตนา
2. ห้ามร่วมประเวณี หรือทำให้อสุจิออกมาโดยเจตนา
3. ห้ามทำให้อาเจียนโดยเจตนา
4. ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู
2. ห้ามร่วมประเวณี หรือทำให้อสุจิออกมาโดยเจตนา
3. ห้ามทำให้อาเจียนโดยเจตนา
4. ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู
สาเหตุทำให้เสียศีลอดเสีย
หมายถึง ผู้ถือศีลอดคนใดคนหนึ่งได้กระทำในสิ่งดังต่อไปนี้ถือว่า ศีลอดของเขาเสียทันที่ และจะต้องถือศีลอดชดใช้ภายหลังจากเดือนร่อมะฎอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งที่ทำให้ศีลอดเสียมีดังต่อไปนี้
- ตั้งใจกิน ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
- ตั้งใจดื่ม ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
- ร่วมประเวณี ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
- ตั้งใจให้ฝุ่นละออง หรือควัน หรือไอน้ำที่มีจำนวนมากเข้าไปในลำคอ
- การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ไม่ว่าชายหรือหญิง
- การสวนทวารด้วยของเหลวทุกชนิด
- การตั้งใจอาเจียน
การเหนียตคำเนียตถือศีลอด
การถือศีลอดให้เนียตในเวลากลางคืน ก่อนแสงอรุณขึ้น
ดุอาในการแก้หรือละศีลอด ควรอ่านดุอาต้นนี้ก่อนจะแก้ศีลอด